
ข้อมูลทั่วไป
ศรีลังกา หมายถึง "เกาะที่มีความเจริญ โชคดี และเป็นศิริมงคล" เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย ซึ่งคนไทยรู้จัก "เกาะลังกา" มาแต่สมัยโบราณเพราะเป็นประเทศที่นับถือพุทธศาสนาฝ่าย "เถรวาท" เช่นเดียวกับไทย ชาวศรีลังกาเชื่อว่าประวัติศาสตร์ของประเทศตน เก่าแก่และเกิดขึ้นพร้อมกับพุทธศักราชเมื่อกว่า 2,500 ปี มาแล้ว ศรีลังกาเคยตกอยู่ใต้ปกครองของโปรตุเกส ฮอลแลนด์ และอังกฤษ และได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2491
ที่ตั้ง
ศรีลังกาเป็นเกาะที่มีความยาว 353 กิโลเมตร กว้าง 183 กิโลเมตร มีพื้นที่ 66,000 ตร.กม.
เมืองหลวง
กรุงโคลัมโบ
ประชากร
20 ล้านคน (2547)
ชาวสิงหล (Sinhalese) ร้อยละ 74
ทมิฬ (Tamils) ร้อยละ 18
มุสลิม ร้อยละ 7
ที่เหลือ คือ มัวร์ (moors) เบอร์เกอร์ (Burghers) และเวทย์ (Veddahs)
ความหนาแน่น ประมาณ 303 คน ต่อ ตร.กม.
ภาษา่
สิงหล ทมิฬ และอังกฤษ
ศาสนา
พุทธ ร้อยละ 70 ฮินดู ร้อยละ 15 คริสต์ ร้อยละ 8 อิสลาม ร้อยละ 7
สินค้าส่งออก เครื่องนุ่งห่ม อัญมณี และชา
ภูมิอากาศ
ที่ราบลุ่มเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 27-16 องศาเซลเซียส
สกุลเงิน
ศรีลังการูปี
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อประมาณ 100 รูปี หรือ 1 รูปี ต่อประมาณ 0.40 บาท
ภาษีท่าอากาศยาน ไม่มี
การปกครอง
ศรีลังกามีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และหัวหน้ารัฐบาล
การค้ากับไทย
การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ย 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเลข ณ ปี 2547)
สินค้าที่มีศักยภาพในการเจาะตลาดศรีลังกาควรเป็นสินค้าที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น ปูนซีเมนต์ ไม้ เฟอร์นิเจอร์ เหล็ก และเหล็กกล้า ฯลฯ สินค้าอุปโภคและบริโภคอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกแก่การดำรงชีพ และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
สำหรับกลไกความร่วมมือด้านการค้า ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ศรีลังกา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ รวมถึงด้านเศรษฐกิจ การค้า นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้งสภาธุรกิจศรีลังกา-ไทย ขึ้นที่กรุงโคลัมโบและที่กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจและการค้าระหว่างกัน
การลงทุน
อุตสาหกรรมที่ศรีลังกาประสงค์จะดึงดูดนักลงทุนไทย คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ การเพาะเลี้ยงกุ้ง การผลิตผลไม้กระป๋อง เครื่องหนัง อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมโรงงานแก้ว (ศรีลังกามีซิลิกาจำนวนมาก ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตแก้ว) อุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยเฉพาะการก่อสร้างสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เนื่องจากรัฐบาลศรีลังกาต้องการขยายนิคมอุตสาหกรรมไปยัง ภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ นอกจากนั้น ยังอาจใช้ศรีลังกาเป็นประตูการค้าส่งผลิตภัณฑ์ไปยังอินเดียซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ และมีความตกลง ทางการค้าเสรีกับศรีลังกา
การประมง
ศรีลังกามีทรัพยากรสัตว์น้ำทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ การประมงพื้นเมืองไม่ทันสมัย ขณะนี้ศรีลังกากับไทยได้มีความตกลงร่วมมือทางการประมงระหว่างกันแล้ว โดยในขั้นต้นจะมีการสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำร่วมกันทั้งสองฝ่ายก่อน
แรงงาน
ศรีลังกาไม่ขาดแคลนแรงงาน มีแรงงานฝีมือบางประเภทเท่านั้นที่อนุญาตให้เข้ามาทำงานชั่วคราว อาทิ วิศวกรก่อสร้าง
ข้อมูลที่ควรทราบ
ควรระมัดระวังตัวในเรื่องความปลอดภัย และไม่ควรร่วมชุมนุมหรือสังเกตการณ์ในการชุมนุมทางการเมือง
เวลาเข้าวัดหรือเยี่ยมชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาต้องไม่สวมหมวก และไม่ใส่รองเท้า ต้องใส่เสื้อที่มีแขนและใส่กางเกงหรือกระโปรงที่ยาวคลุมน่อง
ห้ามถ่ายรูปโดยหันหลังให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิ พระพุทธรูป หรือพระพุทธบาท เพราะถือว่าไม่สุภาพ
คำว่า "hotel" หมายถึง ร้านอาหารได้ด้วย
ชาวไทยสามารถเดินทางเข้าศรีลังกาและพำนักอยู่เป็นเวลา 30 วัน โดยไม่ต้องขอ Visa
หากท่านจะอยู่อาศัยในประเทศศรีลังกา
เป็นระยะเวลานาน โปรดแจ้งชื่อ และที่อยู่
ต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ
หรือให้ความช่วยเหลือในกรณีจำเป็น
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ
(Royal Thai Embassy)
9th Floor, Greenlanka Towers 46/46
Navam Mawatha,
Colombo 2, Sri Lanka
โทรศัพท์ (94-11) 230-2500-3
โทรสาร (94-11) 230-4511-2
E-mail : thaicmb@sltnet.lk
Website : thaiembassy.org/colombo
เวลาทำการ
จันทร์ - ศุกร์ เช้า 08.30 - 12.00 น.
บ่าย 13.00 - 16.30 น.
หมายเหตุ เวลาศรีลังกาช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง
การขอหนังสือเดินทางและขอ
|